ด้านไฟฟ้าชีวมวล
โครงการที่ปรึกษาทางวิศวกรรมของสถาบันการเงิน
โครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
เจ้าของโครงการ : บริษัท กรีนเอิร์ธ เอ็นเนอร์จี จำกัด
ลักษณะโครงการ : โครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ โครงการนี้ใช้ก๊าซชีวภาพที่เกิดจากการหมักน้ำเสียมาเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยมีกำลังการผลิตขนาด 2.97 เมกะวัตต์ ซึ่งน้ำเสียที่นำมาหมักนั้นได้มาจากโรงงานเอทานอล และพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จะส่งเข้าสู่โครงข่ายสายส่งไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งโครงการนี้จะช่วยส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติภายในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและลดปัญหามลพิษของน้ำเสียที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรมเอทานอล โดยโรงไฟฟ้าตั้งอยู่บนที่ดินขนาดเนื้อที่ ประมาณ 28 ไร่ และจะมีพื้นที่สีเขียวภายในโครงการประมาณร้อยละ 28 ของพื้นที่แปลงที่ดินที่ยื่นขออนุญาต
บริการ :
(1) พิจารณาตรวจสอบข้อมูลด้านเทคนิค เช่น ความเหมาะสมของเทคโนโลยี, Proven track record ของเทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งจะพิจารณาว่าได้เป็นไปตามพื้นฐานการออกแบบ และตามข้อตกลงกับระเบียบความต้องของ กฟภ. หรือไม่อย่างไร
(2) พิจารณาตรวจสอบแผนการก่อสร้างโครงการ (Construction Plan)
• พิจารณาการเสนอกำหนดแล้วเสร็จงานก่อสร้างโครงการ
• ตรวจสอบว่าได้จัดเตรียม/จัดหาไว้เพียงพอในด้าน เช่น สำหรับการออกแบบ การผลิตวัสดุอุปกรณ์ การขนส่ง การ Start-up และการทดลองของโครงการ
• ให้ข้อคิดในการคาดหมายว่าข้อเสนอกำหนดแล้วเสร็จนั้น สามารถทำได้ตามที่เสนอหรือไม่อย่างไร
(3) ประเมินความเหมาะสมของวัตถุดิบที่ใช้ในระบบการผลิต ทั้งประเภทของวัตถุดิบ ปริมาณวัตถุดิบที่เป็นของลูกค้า (Feed stock supply) ปริมาณวัตถุดิบที่มีในพื้นที่ ปริมาณก๊าซที่ได้จากวัตถุดิบว่ามีความเหมาะสมกับการผลิตไฟฟ้าที่ออกแบบไว้หรือไม่
(4) พิจารณาค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการและค่าบำรุงรักษา เช่น
• พิจารณาข้อเสนอในการปฏิบัติการและบำรุงรักษา (O&M) สำหรับค่าใช้จ่ายประจำ (Fixed Cost) ค่าใช้จ่ายแปรผัน พร้อมให้ความเห็นในเรื่องความครบถ้วนสมบูรณ์
• พิจารณาตรวจสอบข้อสมมติพื้นฐาน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่าย O&M ที่ได้คำนวณมา
(5) ประมวลข้อมูลด้านเทคนิค
• Performance Guarantees ที่ปรึกษาจะทำการพิจารณา และให้ความเห็นที่ทางผู้รับเหมาได้แสดงไว้ว่ามีความเป็นไปได้ หรือถูกต้องตามหลักเกณฑ์วิศวกรรมหรือไม่อย่างไร
• Performance Testing Criteria ที่ผู้รับเหมา/ผู้ผลิตเสนอมา เช่น
– ความสมเหตุผลของการปฏิบัติการ และช่วงระยะเวลาของการทดสอบ
– ความสามารถในการทดสอบต่อความชัดเจนของการแสดง ด้านกำลังผลิตที่ออกมา (Power Output), เชื้อเพลิงที่เข้าไป (Fuel Input), การปล่อยของเสียต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ฯลฯ
(6) ให้คำแนะนำว่าโดยภาพรวมของการก่อสร้าง จะต้องมีการปรับปรุงหรือแก้ไขอย่างไรหรือไม่
(7) จัดทำรายงานการตรวจสอบ (Technical Audit Report) ที่ปรึกษาจะจัดทำรายงานเสนอ บริษัท กรีนเอิร์ธ เอ็นเนอร์จี จำกัด/สถาบันการเงิน
โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 7.5 MW จังหวัดตรัง
เจ้าของโครงการ : บริษัท โอทาโก้ จำกัด
ลักษณะโครงการ : โรงไฟฟ้าขนาด 7.5 MW ใช้ทะลายปาล์มและใยปาล์มเป็นเชื้อเพลิง
บริการ :
1. พิจารณาในด้านเทคนิคประกอบด้วย
• ความเหมาะสมของ EPC Contract ในด้านเทคนิค
• รายละเอียดด้านเทคนิคของอุปกรณ์ที่สำคัญ
• ข้อกำหนด ลักษณะอุปกรณ์ การใช้อุปกรณ์ที่สำคัญ
• แผนการก่อสร้าง (Construction plan)
• ศึกษารายละเอียดปริมาณของเชื้อเพลิงที่จะใช้ในโรงไฟฟ้า
2. ติดตามความก้าวหน้าผลงานก่อสร้างของโครงการ
3. ติดตามและสรุปผลทดสอบอุปกรณ์เพื่อให้เครื่องจักรเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า
โครงการโรงงานผลิตเอธานอล อุบลไบโอเอธานอล ตำบลนาดี อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี
เจ้าของโครงการ : บริษัท อุบลไบโอเอทานอล จำกัด
บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด
บริษัท ไทยออยล์ จำกัด
ลักษณะโครงการ : โรงงานผลิตเอทานอล ขนาดกำลังผลิต 400,000 ลิตรต่อวัน กระบวนการผลิตเอทานอล เป็นเทคโนโลยีจากประเทศจีน ประกอบด้วยอาคารโรงงาน อาคารสำนักงาน หอพัก ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ รวมทั้ง Biogas Plant ที่สามารถผลิตไฟฟ้าขายระบบไฟฟ้า ของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ขนาด 4.5 MW
บริการ :ทำหน้าที่ตรวจสอบทบทวนด้านเทคนิค ตรวจสอบทบทวนงบประมาณ ตารางเวลาในการก่อสร้าง ประเมินค่าใช้จ่ายการเดินเครื่องฯ ตรวจสอบระหว่างการก่อสร้าง และทดลองเดินเครื่อง ในส่วนของ Owner Engineer ทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องตามมาตรฐานของงานก่อสร้างให้มีคุณภาพ และเป็นไปตามระยะเวลาโครงการ
โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล 8.9 เมกกะวัตต์ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
เจ้าของโครงการ : บริษัท EPURON (Thailand) จำกัด และ บริษัท อิสริยะกุล ไบโอแม็ส จำกัด
ลักษณะโครงการ : โรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 8.9 เมกกะวัตต์ โดยใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงหลัก และใช้ซังข้าวโพด ไม้สับ เป็นเชื้อเพลิงเสริม ซึ่งต้องศึกษาและรวบรวมข้อมูลต่างๆ จำนวนมากเพื่อศึกษาความเป็นไปได้และขออนุญาตในการก่อสร้างและดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าต่อไป
บริการ : ศึกษาถึงปัญหาอุปสรรค เทคโนโลยีขั้นตอนการผลิตที่เหมาะสม ขั้นตอนวิธีการดำเนินการทางด้านมวลชนสัมพันธ์และการขออนุญาตสร้าง รวมถึงดำเนินการทำประชาพิจาร จนถึงการขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้า
โครงการโรงไฟฟ้ามุ่งเจริญกรีนเพาเวอร์ จังหวัดสุรินทร์
เจ้าของโครงการ : บริษัท มุ่งเจริญ กรีน เพาเวอร์ จำกัด
ลักษณะโครงการ : โรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล ขนาด 9.9 MW โดยใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง โดยเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าเข้ากับระบบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แรงดัน 22 kV ที่เดินผ่านหน้าโรงไฟฟ้า
บริการ :
1. พิจารณา เสนอแนะ ศึกษารายละเอียดสรุปความเห็นในด้านเทคนิค ในสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมา EPC Contract สำหรับงานก่อสร้างโรงไฟฟ้า
2. ติดตามความก้าวหน้าของงาน สรุปผลงาน ข้อเสนอแนะ สำหรับงานโครงการเป็นระยะ โดยจะทำการสรุปเสนอเป็นประจำทุกๆ เดือน
3. ติดตาม ตรวจสอบ สรุปผลสำหรับงานทดสอบอุปกรณ์ รวมทั้งเสนอแนะให้ความคิดเห็นในการที่จะออก Final Certificate ของโรงไฟฟ้า และออกใบรับรองความสมบรูณ์ของโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า
โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล จ.กระบี่ ขนาด 9.5 MW อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่
เจ้าของโครงการ : บริษัท ทรอปิคอล เอเชีย อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
ลักษณะโครงการ : โรงไฟฟ้าขนาด 9.5 MW ที่ใช้เศษใบปาล์มเป็นเชื้อเพลิง โดยเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าเข้ากับระบบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แรงดัน 33 kV ที่เดินผ่านหน้าโรงไฟฟ้า
บริการ :
1. บริหารและควบคุมงานก่อสร้าง ซึ่งประกอบด้วยงาน
– งานจัดซื้อจัดจ้างและบริหารสัญญา
– จัดหาผู้รับจ้างเหมาระบบ Water Treatment Plant เพื่อส่งน้ำให้กับโรงไฟฟ้า
– จัดหาผู้รับจ้างก่อสร้างงานปรับพื้นที่และงานขุดบ่อเก็บกักน้ำขนาด 600,000 ลบ.ม. และสถานีสูบน้ำ
– ออกแบบรายละเอียดอาคารโรงไฟฟ้า
– ออกแบบรายละเอียดอาคารเก็บเชื้อเพลิง
2. งานควบคุมการก่อสร้าง
– งานควบคุมการติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์
– งานทดสอบระบบต่าง ๆ
3. งานบริหารสัญญา
– ตรวจสอบและอนุมัติการเบิกจ่ายค่าก่อสร้าง
– จัดทำรายงานให้กับธนาคารผู้ให้กู้
– งานขออนุญาตต่าง ๆ
โครงการการศึกษาและประเมินผลโครงการที่มีศักยภาพชีวมวล
เจ้าของโครงการ : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ) กระทรวงพลังงาน
ลักษณะโครงการ : เมื่อประเทศไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจในปลายปี 2540 และก่อให้เกิดผลกระทบกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศ แนวทางหนึ่งในการส่งเสริมการประหยัดพลังงานคือ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการส่งเสริมให้การใช้พลังงานภายในประเทศมากขึ้น ดังนั้น หากมีการสำรวจปริมาณศักยภาพของแหล่งผลิตและการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลโดยจัดทำเป็นระบบฐานข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงกับสารสนเทศทางภูมิศาสตร์จะทำให้ง่ายและสะดวกต่อการตรวจสอบปริมาณชีวมวลที่เหลือจากการใช้งาน สามารถกำหนดแนวทางสำหรับการส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลในการทดแทนพลังงานเชิงพาณิชย์ซึ่งจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
บริการ : ศึกษาและประเมินศักยภาพของแหล่งชีวมวลเพื่อจัดทำระบบฐานข้อมูลการผลิตและการใช้ชีวมวลในประเทศไทยจำนวนไม่น้อยกว่า 15 ประเภท อันประกอบด้วยใบและยอดอ้อย กากอ้อย ฟาง แกลบ ทะลายปาล์มเปล่า กะลาปาล์ม ใยปาล์ม ลำต้นมันสำปะหลัง เหง้ามันสำปะหลัง ซังข้าวโพด ตอซังสับปะรด ถ่านไม้ ไม้ฟืน เศษไม้ และขี้เลื่อย เป็นต้น
โครงการโรงไฟฟ้าโรงสีข้าวสมหมาย จังหวัดร้อยเอ็ด
เจ้าของโครงการ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงสีข้าวสมหมายร้อยเอ็ด
ลักษณะโครงการ : โรงไฟฟ้าขนาด 3.7 MW ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง
บริการ :
1. พิจารณาในด้านเทคนิคประกอบด้วย
• ความเหมาะสมของ EPC Contract ในด้านเทคนิค
• รายละเอียดด้านเทคนิคของอุปกรณ์ที่สำคัญ
• ข้อกำหนด ลักษณะอุปกรณ์ การใช้อุปกรณ์ที่สำคัญ
• แผนการเดินเครื่อง การบำรุงรักษาละรวมทั้งแผนกำหนดระยะเวลาก่อสร้าง
• ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจาก บริษัทEPC เสนอเทียบมาตรฐานของข้อกำหนดของสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
• ศึกษารายละเอียดปริมาณของเชื้อเพลิงที่จะใช้ในโรงไฟฟ้า
2. ติดตามความก้าวหน้าผลงานก่อสร้างของโครงการ
3. ติดตามและสรุปผล ทดสอบอุปกรณ์เพื่อให้เครื่องจักรเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า
โครงการโรงไฟฟ้าร้อยเอ็ดกรีน จังหวัดร้อยเอ็ด
เจ้าของโครงการ : บริษัท ร้อยเอ็ด กรีน จำกัด
ลักษณะโครงการ : โรงไฟฟ้าพลังความร้อน ขนาด 9.9 MW ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง ประกอบด้วย
• หม้อไอน้ำ ขนาด 45 ตัน
• เครื่องกังหัน ขนาด 10 MW
• เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 9.9 MW
บริการ :
1. พิจารณาในด้านเทคนิคประกอบด้วย
• ความเหมาะสมของ EPC Contract ในด้านเทคนิค
• รายละเอียดด้านเทคนิคของอุปกรณ์ที่สำคัญ
• ข้อกำหนด ลักษณะอุปกรณ์ การใช้อุปกรณ์ที่สำคัญ
• แผนการเดินเครื่อง การบำรุงรักษาละรวมทั้งแผนกำหนดระยะเวลาก่อสร้าง
• ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจาก บริษัทEPC เสนอเทียบมาตรฐานของข้อกำหนดของสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
• ศึกษารายละเอียดปริมาณของเชื้อเพลิงที่จะใช้ในโรงไฟฟ้า
2. ติดตามความก้าวหน้าผลงานก่อสร้างของโครงการ
3. ติดตามและสรุปผล ทดสอบอุปกรณ์เพื่อให้เครื่องจักรเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า
โครงการโรงไฟฟ้ายะลา จังหวัดยะลา
เจ้าของโครงการ : บริษัท กัลฟ์ ยะลา กรีน จำกัด
ลักษณะโครงการ : โรงไฟฟ้าขนาด 20 MW ที่ใช้ไม้ยางพาราเป็นเชื้อเพลิง
บริการ :
1. พิจารณาในด้านเทคนิคประกอบด้วย
• ความเหมาะสมของ EPC Contract ในด้านเทคนิค
• รายละเอียดด้านเทคนิคของอุปกรณ์ที่สำคัญ
• ข้อกำหนด ลักษณะอุปกรณ์ การใช้อุปกรณ์ที่สำคัญ
• แผนการเดินเครื่อง การบำรุงรักษาละรวมทั้งแผนกำหนดระยะเวลาก่อสร้าง
• ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจาก บริษัทEPC เสนอเทียบมาตรฐานของข้อกำหนดของสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
• ศึกษารายละเอียดปริมาณของเชื้อเพลิงที่จะใช้ในโรงไฟฟ้า
2. ติดตามความก้าวหน้าผลงานก่อสร้างของโครงการ
3. ติดตามและสรุปผล ทดสอบอุปกรณ์เพื่อให้เครื่องจักรเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า