A Member of TEAM GROUP

Home ด้านไฟฟ้าพลังงานน้ำ

ด้านไฟฟ้าพลังงานน้ำ

โครงการเทิน-หินบุญ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

 

เครดิตรูปภาพ https://www.snpower.com/our-markets/laos/theun-hinboun/

 

เจ้าของโครงการ : บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด

 

ลักษณะโครงการ : โรงไฟฟ้ามีกำลังการผลิต 2 x 108 เมกะวัตต์ กำลังการผลิตติดตั้ง(ส่วนขยาย) 1*214 เมกะวัตต์ ระบบส่งไฟฟ้า 230 เควี จำนวน 4 วงจร ระยะทางจากโรงไฟฟ้าถึง สฟ. ท่าแขก 86 กิโลเมตร ระยะทางจากโรงไฟฟ้าถึง สฟ.นครพนม2 160 กิโลเมตร

 

บริการ : ออกแบบรายโรงไฟฟ้า

โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

 

 

เจ้าของโครงการ : บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)

 

ลักษณะโครงการ : โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี มีลักษณะเป็นเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็ก ยาว 810 เมตร ความสูงหัวน้ำใช้งาน (Rated Net Head) 28.5 เมตร มีการติดตั้งประตูระบายน้ำเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าจำนวน 10 บาน โดยติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 175 เมกะวัตต์ จำนวน 7 เครื่อง เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าให้แก่ประเทศไทย และขนาด 60 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าให้แก่ สปป. ลาว รวมกำลังผลิตติดตั้งทั้งสิ้น 1,285 เมกะวัตต์ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เฉลี่ยปีละ 7,370 ล้านหน่วย

 

บริการ : ออกแบบ หม้อแปลงกำลัง ระบบไฟฟ้าสถานีย่อย GIS แรงดัน 500 kV และAIS 115 kV พร้อมทั้งระบบควบคุมและป้องกัน และ สายส่งแรงดัน 500 kV/จัดทำข้อกำหนดอุปกรณ์ /ประมาณราคา

โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำน้ำงึม 2 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

 

 

เจ้าของโครงการ : SouthEast Asia Energy Limited/ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)

 

ลักษณะโครงการ : น้ำงึม 2 เป็นโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำสำคัญ ตั้งอยู่เหนืออ่างเก็บน้ำน้ำงึม 1 ห่างจากจังหวัดเวียงจันทน์ (Vientiane) ไปทางเหนือ 90 กิโลเมตร เป็นเขื่อนหินถมบดอัด ดาดหน้าคอนกรีตสูง 181 เมตร ยาว 485 เมตร โดยสร้างกั้นช่องแคบเขาสูงชัน ซึ่งทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำขนาดความจุ 6,774 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ระดับกักเก็บน้ำสูงสุด 375 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล อาคารระบายน้ำล้น เป็นชนิด Open Chute บังคับโดย Radial Gate 3 บาน แต่ละบานมีความสูง 16.6 เมตร กว้าง 17 เมตร มีขนาดกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า 615,000 กิโลวัตต์ โครงการไฟฟ้าพลังน้ำนี้จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเฉลี่ยได้ปีละ 2,218 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง โดยจะขายกระแสไฟฟ้าให้กับประเทศไทย ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของ สปป.ลาว

 

บริการ : ออกแบบรายละเอียดงานวิศวกรรมไฟฟ้า โยธา ของงานอุโมงค์ผันน้ำ/ เขื่อนผันน้ำ/เขื่อนหินถมบดอัด/โรงไฟฟ้าและ ลานไกไฟฟ้า (switchyard) /ถนนและสะพานหลัก และถนนเข้าโครงการ /โรงบำบัดน้ำเสีย และระบบระบายน้ำ

โครงการศึกษาความเหมาะสมของการผันน้ำลงสู่อ่างเขื่อนภูมิพล อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

 

 

เจ้าของโครงการ : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

 

ลักษณะโครงการ : จากผลของการขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างอันเป็นผลโดยตรงมาจากปริมาณน้ำฝนเหนือเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ที่ลดน้อยลงและมีอัตราใช้น้ำเพิ่มขึ้นทั้งเหนือน้ำและในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง อันเป็นผลจากการเจริญเติบโตของประเทศ รวมทั้งมีปริมาณการปลูกข้าวหน้าปรังในหน้าแล้งสูง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ จึงมีการศึกษาเลือกแนวทางดำเนินการที่เหมาะสมและดำเนินการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ

 

บริการ : ทบทวนการศึกษาที่ได้มีการดำเนินการ และทำการคัดเลือกแนวที่เหมาะสมที่สุดเพื่อทำการศึกษาในรายละเอียด/ทำการศึกษารายละเอียดของแนวที่เหมาะสมที่สุดรวมทั้งการออกแบบเบื้องต้น

โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิริกิติ์ หน่วยที่ 4 อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

 

 

เจ้าของโครงการ : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

 

ลักษณะโครงการ : ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รวม 4 เครื่อง กำลังผลิตเครื่องละ 125,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิต 500,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 1,000 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

 

บริการ : ออกแบบ/ประมาณราคาของงานในส่วนขยายสถานีไฟฟ้า

โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับลำตะคอง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

 

 

เจ้าของโครงการ : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

 

ลักษณะโครงการ : ประกอบด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 250 เมกะวัตต์ จำนวน 4 หน่วย (ระยะแรกติดตั้ง 2 หน่วย) รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น 1,000 เมกะวัตต์รายละเอียดขององค์ประกอบหลักของโครงการประกอบด้วย

1) อ่างเก็บน้ำตอนบน พื้นที่ก่อสร้างประมาณ 0.4 ตร.กม. หรือประมาณ 212 ไร่ มีความจุใช้งานของอ่าง 9.9 ล้าน ลบ.ม.

2) อ่างเก็บน้ำลำตะคอง (อ่างล่าง) พื้นที่ 1,430 ตร.กม.มีความจุของอ่างประมาณ 290 ล้านลบ.ม.

3) อุโมงค์ส่งน้ำเข้าโรงไฟฟ้า (Intake Tunnel) เชื่อมระหว่าง Penstock และโรงไฟฟ้าใต้ดินจำนวน 2 อุโมงค์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6.00 ม. ความยาวอุโมงค์ 651 ม.

4) อุโมงค์ส่งน้ำ (Penstock) เชื่อมระหว่างอ่างเก็บน้ำ ตอนบน และอุโมงค์ส่งน้ำเข้าโรงไฟฟ้า (Intake Tunnel) จำนวน 2 อุโมงค์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5.80 ม. ยาว 690 ม.

5) อุโมงค์สายส่งไฟฟ้า 230 kV เชื่อมระหว่างโรง ไฟฟ้าใต้ดินกับ Switchyard บนดินขนาดภายใน  3.00 x 3.00 ม. ยาว 600 ม.

6) อุโมงค์ท้ายน้ำ  (Tailrace Tunnel) เชื่อมระหว่างโรงไฟฟ้าใต้ดิน และอ่างเก็บน้ำลำตะคอง จำนวน 2 อุโมงค์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6.80 ม. ความยาวอุโมงค์ 1,470 ม.

7) อุโมงค์ ทางเข้า Penstock

8) อุโมงค์ทางเข้าโรงไฟฟ้าใต้ดิน

9) อุโมงค์ระบายน้ำจากโรงไฟฟ้า

10) โรงไฟฟ้าใต้ดิน อยู่ลึกจากผิวดินประมาณ 350 ม. ขนาด 22 x 117 ม. สูง 46 ม. ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและอุปกรณ์ จำนวน 4 ชุด (ระยะแรกติดตั้ง 2 หน่วย) รวมกำลังผลิตไฟฟ้า 1,000 เมกะวัตต์ 

 

บริการ : งานที่ปรึกษารวมงานโยธา งานระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์ (Hydro- mechanical and Electro- mechanical equipment) งานแบ่งออกเป็นขั้นตอนดังนี้ :

ขั้นตอนที่ 1 : ทบทวนและออกแบบเบื้องต้นการเดินสายไฟฟ้าใต้ดินขนาด 230 เควี ในอุโมงค์

ขั้นตอนที่ 2 : ออกแบบรายละเอียดและเตรียมร่างเอกสารประกวดราคา

ขั้นตอนที่ 3 : เตรียมเอกสารประกวดราคาขั้นสุดท้าย