ด้านท่อ
โครงการออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง ระบบเติมน้ำมันอากาศยานทางท่อ ท่าอากาศยานเชียงใหม่
เจ้าของโครงการ : บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
ลักษณะโครงการ : ตามแผนพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ให้สามารถรองรับการให้บริการเติมเชื้อเพลิงอากาศยานให้เกิดความสะดวกและรวดเร็ว เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางการบินแห่งภูมิภาคงานที่จะดำเนินการในครั้งนี้ จะประกอบด้วย งานออกแบบ และงานควบคุมการก่อสร้าง ระบบเติมน้ำมันท่าอากาศยานทางท่อ ให้สามารถรับน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานได้ทั้งจากคลังน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานของ ปตท ที่ก่อสร้างไว้แล้วและสามารถรับน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานจากแหล่งอื่นได้ด้วย ระบบเติมน้ำมันอากาศยานทางท่อจะเริ่มจากริมรั้วท่าอากาศยานเชียงใหม่เพื่อไปจ่ายให้กับอากาศยานจำนวน 10 หลุมจอด คือ หลุมจอดหมายเลข 2A, 4, 5, 6, 7, 9, 12, 15, 17 และ 18 การติดตั้งระบบท่อน้ำมันบริเวณลานจอดอากาศยานใช้วิธี Horizontal Directional Drill (HDD) Æ ≥ 160 mm. ความยาว 1.20 กม. เพื่อลดผลกระทบต่อการใช้ท่าอากาศยาน
บริการ : งานออกแบบ / จัดทำแบบร่างเบื้องต้น / จัดทำแบบรายละเอียด / จัดทำเอกสารเกี่ยวกับการประกวดราคา/ งานควบคุมการก่อสร้าง/ การตรวจสอบผลงานก่อสร้างหลังจากโครงการแล้วเสร็จ
โครงการงานออกแบบถังเก็บสารเคมีฟินอลและระบบท่อส่ง
เจ้าของโครงการ : บริษัท ฟีนอล เคมี ประเทศไทย จำกัด
ลักษณะโครงการ : บริษัท ฟีนอล เคมี ประเทศไทย จำกัด มีแผนงานจัดจำหน่ายสารเคมีฟี่นอล (Phenol) และ อาซีโทน (Acetone) ให้กับโรงงานสารเคมี เบเยอร์ที่ตั้งอยู่ในการนิคมมาบตาพุด ซึ่งสารเคมีฟี่นอลและอาซีโทนนี้ เป็นสารเคมีที่นำเข้าจากต่างประเทศโดยทางเรือบรรทุกสินค้าเข้าเทียบท่าเรือขนส่งสินค้ามาบตาพุด จะทำการสูบถ่ายสารเคมีออกจากเรือบรรทุกสารเคมีเข้าที่ถังพักเก็บสารเคมีที่อยู่ใกล้กับท่าเทียบเรือมาบตาพุด ถังเก็บสารเคมีนี้ทั้งหมดจะประกอบด้วย ถังสำหรับเก็บสารเคมีฟีนอลขนาดความจุ 10,000 ลบ.ม. จำนวน 2 ถัง และถังเก็บสารเคมีอาซีโทน จำนวน 2 ถัง ขนาดความจุรวม 12,000 ลบ.ม. ซึ่งสารเคมีทั้งสองนี้จะถูกสูบส่งเข้าสู่โรงงานเบเยอร์ที่อยู่ในนิคมมาบตาพุดโดยผ่านท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว และ 4 นิ้ว ตามลำดับระยะทางประมาณ 2,500 เมตร ซึ่งถังเก็บสารเคมีฟีนอลและท่อส่งสารเคมีนี้จะทำการห่อหุ้มด้วยวัตถุให้ความร้อนสู่ท่อและถังด้วยระบบไฟฟ้า เพื่อรักษาอุณหภูมิของสารเคมีในท่อให้คงที่ สม่ำเสมอที่ 55 องศาเซลเซียสตลอดเวลา
บริการ :
-
- กำหนดวางระบบ Front end engineering งานวิศวกรรมต้นแบบทั้งหมดโครงการ คือ การจัดำทงานวิศวกรรม พื้นฐานเป็นต้นแบบ รวมทั้งแผนงานทางวิศวกรรมรวมทั้งหมด เพื่อควบคุมโครงการก่อนที่จะทำการออกแบบเบื้องต้นทั้งหมด
- จัดเตรียมงานป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อมตามที่ได้ทำการศึกษาไว้ในรายงาน EIA
- จัดเตรียมเอกสารประกวดราคาหาผู้รับเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (EPC)
- จัดทำเอกสารเปรียบเทียบประเมินหาผู้รับเหมาโครงการแบบเบ็ดเสร็จ (EPC)
งานออกแบบท่อไอน้ำร่วมผลิตไฟฟ้าภายนิคมอุตสาหกรรมบางปู
เจ้าของโครงการ : GE ALSTOM Power Generation Ltd. (France)
ลักษณะโครงการ : โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยใช้พลังไอน้ำร่วมการผลิตภายในนิคมอุตสาหกรรมบางปูจะทำการผลิตพลังงานไฟฟ้ารวมแรงดัน 110 MW เป็นการผลิตไฟฟ้าตามกำหนดของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ซึ่งจะทำการผลิตโดยใช้เชื่อเพลิงก๊าซธรรมชาติจากท่อส่งก๊าซ ปตท. พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ จะทำการจำหน่ายให้ผู้ที่ต้องใช้ไฟฟ้าภายในนิคมและบริเวณใกล้เคียงบางส่วน และที่เหลือจะขายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) ซึ่งโรงงานผลิตไฟฟ้าร่วมนี้ จะยังสามารถจำหน่ายโอนที่เหลือใช้ให้กับโรงงานบริเวณใกล้เคียงภายในนิคมนี้อีกด้วย เช่น โรงงาน ASIA FIBRE และ SIAM OCCI อีกด้วย
บริการ :
-
- จัดทำรายการแบบรายละเอียดโครงการ
- จัดทำแบบงานโยธาทั้งโครงการ
- จัดทำแบบรายละเอียดท่อภายในโครงการ (แบบท่อ Single line ภายในอาคาร)
- แบบแสดงความเครียดของท่อ
- แบบ Isometric สำหรับท่อขนาดใหญ่
- แบบรายละเอียดท่อภายนอกอาคารทั้งหมด
- จัดทำเอกสารแสดงรายการท่อทั้งโครงการ
- จัดทำแบบโครงสร้างรับท่อทั้งหมดภายในโครงการ
โครงการสำรวจแนววางท่อและจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินระยะที่ 1
เจ้าของโครงการ : การปิโตรเลียม แห่งประเทศไทย (ปตท.)
ลักษณะโครงการ : โครงการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 36 นิ้ว เชื่อมต่อระหว่างสถานีวัดปริมาตรก๊าซจังหวัดราชบุรี (Ratchaburi Metering Station) เข้ากับสถานีวัดปริมาตรก๊าซวังน้อย (Wangnoi Metering Station) ระยะทางโดยประมาณ 155 กิโลเมตร โดยแนววางท่อส่งก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่อยู่ในแนวใต้สายส่งไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และแนวท่อก๊าซฯ บางส่วนวางผ่านที่ดินเอกชน พร้อมทั้งก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 24 นิ้ว เชื่อมต่อระหว่างระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ บางปะกง-วังน้อย ไปยังระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติบางพลี-สระบุรี
บริการ : สำรวจและจัดทำแบบรายละเอียด /กำหนดแนวเขตทางและจัดทำแบบแนวเขตท่อก๊าซ / วิเคราะห์ผลกระทบทางด้านธรณีเทคนิคของท่อก๊าซธรรมชาติใต้ดิน/ ขออนุญาตวางท่อส่งก๊าซผ่านพื้นที่หน่วยราชการ
โครงการงานออกแบบอาคารภายในคลังเก็บน้ำมันร่วมทั้งหมดทั้งถังและท่อน้ำมัน
เจ้าของโครงการ : บริษัท ซัมซุง เอ็นจิเนียริ่ง และก่อสร้าง จำกัด (ประเทศเกาหลี)
ลักษณะโครงการ : ประกอบด้วย
- อาคารสำนักงานและอาคารควบคุมโครงการ รวมพื้นที่ประมาณ 1,500 ตร.ม.
- อาคารซ่อมเครื่องจักรและเก็บของใช้ภายนอก พื้นที่ประมาณ 920 ตร.ม.
- อาคารสถานีไฟฟ้าย่อย จำนวน 2 สถานี มีพื้นที่ขนาด 450 ตร.ม. และ 140 ตร.ม.
- พื้นที่รับ load ไฟฟ้าขนาด 5,440 ตร.ม.
- พื้นที่ถนนทางเข้าออกอาคารควบคุมประมาณ 1,300 ตร.ม.
- อาคารเล็กๆ สำหรับงานทั่วไป
- ถังเก็บน้ำมันชนิดเบนซินพรีเมี่ยม (premium gasoline) ขนาดความจุ 4.2 ล้านลิตร จำนวน 2 ถัง
- ถังเก็บน้ำมันชนิดเบนซินปกติ (regular gasoline) ขนาดความจุ 7.8 ล้านลิตร จำนวน 3 ถัง
- ถังเก็บน้ำมันชนิดดีเซลความเร็วสูง (High speed diesel) ขนาดความจุ 38.5 ล้านลิตร จำนวน 3 ถัง
- ถังพักน้ำมันร่วมขนาดความจุ 0.6 ล้านลิตร จำนวน 3 ถัง
- ถังเก็บน้ำมันชนิดเบนซินไร้สารตะกั่ว (unleaded gasoline) ความจุ 3.7 ล้านลิตร จำนวน 1 ถัง
- ถังเก็บน้ำมันที่ปนเปื้อนหรือใช้แล้ว ขนาด 0.3 ล้านลิต จำนวน 1 ถัง
- ถังเก็บน้ำมัน MTBE ขนาดความจุ 0.6 ล้านลิตร จำนวน 1 ถัง
บริการ :
1. ทบทวนและรออนุมัติงานออกแบบรวมถึงรายการคำนวณแบบรายละเอียดทั้งหมด ของถังเก็บน้ำมันและฐานราก
2. ออกแบบรายละเอียดอาคารใช้สอยภายในโครงการ ทางด้านงานสถาปัตยกรรม งานธรณีวิทยา งานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ งานระบบไฟฟ้าแสงสว่าง งานระบบโทรศัพท์ งานระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย งานระบบป้องกันฟ้าผ่า
3. ออกแบบรายละเอียดระบบการระบายน้ำปนเปื้อนน้ำมันภายในโครงการ
4. ช่วยเหลือเจ้าของงานให้ได้รับใบอนุญาตก่อสร้างและใบอนุญาตประกอบใช้งานอาคารจากกรมโยธาธิการ ซึ่งจะรวมถึง
• การจัดเตรียมเอกสารต่างๆ ในการขออนุญาต
• ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของกรมฯ
โครงการงานออกแบบและวิเคราะห์ระบบท่อน้ำมันของโรงงานน้ำมันเอสโซ่ศรีราชา
เจ้าของโครงการ : บริษัท เอสโซ่ สแตนดาร์ด (ประเทศไทย) จำกัด (ESTL)
ลักษณะโครงการ : ประกอบด้วย
1. งาน ADO ท่อนำเข้ามาใช้ในโครงการ Jetty ประกอบด้วยท่อ 18” และ 8” ต่อเชื่อมกับท่อ 24” ของท่อ ปตท. และท่อ 8” เชื่อมต่อเข้ากับถัง TK-3917 และ TK-3918
2. ถัง TK-949 มีการเชื่อมต่อ ประกอบด้วยท่อต่างๆ คือ ท่อขนาด 24”, 10”, 6”, 2” และ 15” เชื่อมต่อ ณ จุดต่างๆ และเชื่อมต่อเข้ากับถัง 949
3. ถัง HVN ส่งออกไปยังโครงการของไทยออยล์ซึ่งประกอบด้วย ท่อขนาด 12”, 8”, 4”, 2” และ 1” ต่อเชื่อมเข้าถัง TK-991 และเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ท่อของโรงกลั่นเอสโซ่ที่บริเวณแนวขอบเขตที่ดินที่ติดกัน
บริการ :
1. จัดทำรายการแผนผังบริเวณ แบบรายละเอียดโครงการ และแนวท่อทั้งหมด
2. แสดงตำแหน่งที่ตั้งโครงสร้างรับท่อ และรูปแบบที่จะใช้
3. จัดทำวิเคราะห์ความเครียดของท่อ
4. ตรวจสอบและยืนยันความเครียดของท่อบริเวณรอยต่อเชื่อมที่ตัวถัง และหัวฉีด
5. จัดทำแบบ Isometric Drawing
6. จัดทำบัญชีรายละเอียดปริมาณงานวัสดุก่อสร้าง